วช. ยินดี กับนักประดิษฐ์คว้ารางวัล ผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดพิธีมอบรางวัลประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2560 ในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 (Thailand Research Expo 2017)Highlight Stage ห้องคอนเวนชัน ชั้น22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

                ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช.ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้แก่กลุ่มอาจารย์และนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปี 2560 โดยจัดกิจกรรม บ่มเพาะนักประดิษฐ์สายอุดมศึกษา เพื่อให้นิสิตนักศึกษาสายอุดมศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการเขียนข้อเสนอโครงการและพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถพัฒนาผลงานไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ รวมถึงมีแรงบันดาลใจในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม กิจกรรมดังกล่าวได้กำหนดกลุ่มเรื่องสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม จำนวน 5 กลุ่มเรื่อง ดังนี้ 1) กลุ่มอาหาร เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ จำนวน 16 ผลงาน 2) กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ จำนวน 35 ผลงาน 3) กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ ระบบเครื่องกลที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว จำนวน 14 ผลงาน 4) กลุ่มสร้างสรรค์วัฒนธรรม การศึกษา และสังคมที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวน 29 ผลงาน 5) กลุ่มสิ่งแวดล้อมและพลังงาน จำนวน 9 ผลงาน รวมจานวนทั้งสิ้น 103 ผลงาน

 

ทั้งนี้จากการพิจารณาคัดเลือกตามกระบวนการมอบรางวัล ในปีนี้ วช.ได้อนุมัติรางวัลข้อเสนอโครงการผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา และรางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลข้อเสนอโครงการผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา มีดังนี้ 1. กลุ่มอาหาร เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ รางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานชุดตรวจวัดปริมาณไซยาไนด์ในมันสำปะหลัง แบบเปรียบเทียบสีโดยใช้อนุภาคนาโนโลหะคู แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รางวัลระดับดีมาก ได้แก่ ผลงานน้ำมันบริโภคผสมจากน้ำมันปาล์มโอเลอินเเละน้ำมันงาขี้ม้อนที่มีอัตราส่วนของไขมันโอเมก้า 6 และโอเมก้า 3 เหมาะสมต่อสุขภาพ     แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลระดับดี ได้แก่ ผลงานน้ำมะม่วงซินไบโอติกจากมะม่วงแก้วขมิ้น แห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ผลงานเครื่องปอกเปลือกกุ้ง         แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และผลงานการผลิตโปรตีน TCTP จากกุ้งก้ามกราม (MrTCTP) สำหรับป้องกันการติดเชื้อและลดอัตราการตายของลูก กุ้งก้ามกรามจากการติดเชื้อMrNV            แห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2. กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ รางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานการผลิตแผ่นแปะผิวหนังโดยใช้อนุภาคนาโนนาส่งสารเรสเวอราทรอลและกรดไลโปอิกสำหรับสลายไขมัน ใต้ผิวหนัง แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลระดับดีมาก ได้แก่ ผลงานฝุ่นเงิน (Silver Dust): ผงอนุภาคซิลเวอร์นาโนคุณภาพสูงพร้อมใช้สำหรับผู้ป่วยสูงวัย แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลระดับดี ได้แก่ ผลงานสายสวนปัสสาวะเคลือบสารป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่เตรียมจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร             แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ผลงานนวัตกรรมห้ามเลือดจากวัชพืชสาบเสือ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และผลงานวัสดุทดสอบฮีโมโกลบินเอวันซีสาหรับกิจกรรมทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการ แห่งมหาวิทยาลัยนเรศวร

3. กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ ระบบเครื่องกลที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยี สมองกลฝังตัว รางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานโพลาร์กล้องจุลทรรศน์สมาร์ตโฟน สโคป: ชุดอุปกรณ์เสริมโพลาไรเซชันสำหรับกล้องจุลทรรศน์สมาร์ตโฟน แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลระดับดีมาก ได้แก่ ผลงานการพัฒนาเครื่อพิมพ์สามมิติชนิดเลเซอร์หลอมเหลว สำหรับผงโดยใช้อุปกรณ์ให้ความร้อน แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต รางวัลระดับดี ได้แก่ ผลงานแอปพลิเคชั่นระบบแอนดรอยด์เปิด-ปิดไฟฟ้าผ่านบลูทูธ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ผลงานการพัฒนาเครื่องตัดแผ่น Aluminum Composite ด้วยระบบ CNC              แห่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และผลงานสมาร์ทไทม์เมอร์ แห่งมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4. กลุ่มสร้างสรรค์วัฒนธรรม การศึกษาและสังคม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต รางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานชุดอุปกรณ์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับเลนส์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลระดับดีมาก ได้แก่ ผลงานมนต์เสน่ห์แห่ง เพอรานากันมรดกทางวัฒนธรรมสู่ผลงานเครื่องประดับ แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลระดับดี ได้แก่ ผลงานบ้านฉุกเฉิน สะเทิ้นน้าสะเทิ้นบก แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ผลงานโคมไฟชีวิต แห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และผลงานโครงการออกแบบชุดของเล่นเสริมสร้างพัฒนาการ โดยใช้แนวความคิดของเล่นพื้นบ้านไทยสาหรับเด็กอายุ 5-8 ปี แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร 5. กลุ่มสิ่งแวดล้อมและพลังงาน รางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานการเพิ่มสมรรถนะการกลั่นเอทานอลรังสีอาทิตย์ด้วยคลื่นอัลตราโซนิค แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย รางวัลระดับดีมาก ได้แก่ ผลงานวัสดุคอมโพสิทผสมถ่านกัมมันต์เพื่อบำบัดน้าเสียในตู้ปลาสวยงาม แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รางวัลระดับดี ได้แก่ ผลงานการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานลมรอบทิศทาง โดยการบังคับการไหลลงต่าง แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และรางวัลชมเชยอีก 2 รางวัล