ปลาอันตราย!...คนเลี้ยงสัตว์น้ำ

 

 

 

เมื่อช่วงเดือนเศษๆที่ผ่านมา มีข่าวคราวที่ทำเอาคนเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งใน จ.สมุทรสงคราม ที่ถูกปลาชนิดหนึ่งที่เกิดจากธรรมชาติกินลูกกุ้งที่เลี้ยงในบ่อเกือบเกลี้ยง สร้างปัญหามากมาย และร้องเรียนถึงกรมประมงให้ไปดูว่าเป็นปลาชนิดอะไรนั้น ซึ่งผลการพิสูจน์ของเจ้าหน้าที่พบว่า เป็น ปลาหมอสีคางดำ ปลาสัญชาติแอฟริกา ที่มีอันตรายไม่น้อยต่อระบบนิเวศน์ และนำมาซึ่งวิธีป้องกันเจ้าปลาชนิดนี้แก่เกษตรกร

... นอกจากนี้จากการสอบถามและทดลองในห้องปฏิบัติของศูนย์ฯ พบว่าปลาหมอสีคางดํา ชอบกินกุ้งทะเล โดยเฉพาะกุ้งกุลาดํา กุ้งขาวแวนนาไม และกุ้งแชบ๊วย รวมถึงลูกปลาวัยอ่อน โดยจากการ ตรวจสอบความยาวของลําไส้ปลา พบว่ามีความยาวมากกว่า 4 เท่าของความยาวลําตัวปลา โดยมีระบบการย่อยอาหารที่ดี สามารถย่อยกุ้งได้ภายในระยะเวลาไม่ถึง 30 นาที่ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ปลาหมอสีคางดํา มีความต้องการอาหารอยู่แทบ ตลอดเวลา ประกอบกับนิสัยของปลาที่ค่อนข้างดุร้าย เมื่อเทียบกับปลานิลและปลาหมอเทศ..

ตอนหนึ่งในบทความ เรื่อง ปลาหมอสีคางดํา (Blackchin tilapia) ผลงานการวิจัยของ คุณชัยวุฒิ สุดทองคง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําชายฝั่ง เขต2 (lสมุทรสาคร) ซึ่งเป็นงานการวิจัยที่น่าสนใจยิ่งสำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลาต่างๆ ..เพราะหากไอ้ปลาหมอสีคางดำมันระบาดเข้าไปในแหล่งที่เราเลี้ยง อันตรายทีเดียว! ...บทความมีวิธีป้องกันที่เป็นประโยชน์มากมาย ...ลองดูครับ! 

 

 

ปลาหมอสีคางดํา (Blackchin tilapia) Sarotherodon melanotheron Rüppell, 1852

ชัยวุฒิ สุดทองคง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําชายฝั่ง เขต2 (lสมุทรสาคร)

        ปลาหมอสีคางดํา หรือ Blackchin tilapia แปลตรงตัวคือ ปลานิลคางดํา จะเห็นได้ว่าปลาชนิดนี้มี ลักษณะภายนอก คล้ายคลึง กับปลานิล โดยเฉพาะในปลาระยะวัยอ่อน เมื่อโตเต็มวัย จะสังเกตได้ชัดขึ้นปลาหมอสี คางดํา จัดอยู่ในครอบครัว Cichlidae เช่นเดียวกับปลานิลและปลาหมอเทศ ปลาชนิดนี้มีถิ่นกําเนิดในทวีป แอฟริกา พบแพร่กระจายตลอดแนวชายฝั่งจนถึงแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ แพร่กระจายในบริเวณชายฝั่ง ตลอดแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ เช่น ไนจีเรีย คาเมรูน เซเนกัล ไอวอรี่โคสต์กินีไลบีเรีย โตโก สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยคองโก เบนิน แกมเบีย กินีบิสเซา สาธารณรัฐคองโกมอริเตเนีย กานา และเซียร์ราลีโอน เป็นต้น ปัจจุบันมีการนําเข้าพันธุ์ปลาหมอสีคางดําในหลายประเทศ ทั้งอเมริกา ยุโรป เอเชีย โดยเฉพาะในประเทศไทย มีรายงานการนําเข้ามาตั้งแต่ ปี2553

       ส่วนใหญ่พบอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ําที่เป็นน้ํากร่อย ป่าชายเลน สามารถทนความ เค็มได้สูงและทนต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มในช่วงกว้าง นอกจากนี้ ยังพบปลาชนิดนี้ในพื้นที่น้ําจืด แม่น้ํา และทะเลสาบน้ําจืด ในบริเวณที่มีกระแสน้ําไม่ไหลแรง เมื่อมีขนาดโตเต็มวัย อาจมีขนาดลําตัวยาวถึง 8 นิ้ว หรือมากกว่า การจําแนกเพศของหมอสีคางดําจาก ภายนอกไม่ชัดเจน อาจเมื่อโตเต็มวัย ปลาหมอสีคางดํา เพศผู้จะมีสีดําบริเวณหัวและบริเวณแผ่นปิดเหงือก มากกว่าเพศเมีย เมื่อถึงระยะช่วงระยะเวลาจับคู่ผสม พันธุ์จะเข้ามาในเขตน้ําตื้น ปลาเพศเมียทําหน้าที่ขุด หลุมสร้างรัง เพศผู้ทําหน้าที่กระตุ้นให้เมียการเพศเมียไข่ และผสมกับน้ําเชื้อภายนอก ปลาหมอสีคางดําสมบูรณ์ เพศและวางไข่ได้รวดเร็ว แม่ปลา 1 ตัว สามารถให้ไข่ได้ 150–300 ฟอง การฟักไข่ และดูแลตัวอ่อนในปากโดยปลาเพศผู้ โดยไข่จะใช้เวลาฟักประมาณ 4-6 วัน และพ่อปลาจะดูแลลูกปลา โดยการอมไว้ในปากนาน ประมาณ 2-3 สัปดาห์

 

 

       อาหาร เป็นปลาที่กินทั้งพืช และสัตว์แพลงก์ตอน ลูกปลา ลูกหอยสองฝา รวมถึง ซากของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้จากการสอบถามและทดลองในห้องปฏิบัติของศูนย์ฯ พบว่าปลาหมอสีคางดํา ชอบกินกุ้งทะเล โดยเฉพาะกุ้งกุลาดํา กุ้งขาวแวนนาไม และกุ้งแชบ๊วย รวมถึงลูกปลาวัยอ่อน โดยจากการ ตรวจสอบความยาวของลําไส้ปลา พบว่ามีความยาวมากกว่า 4 เท่าของความยาวลําตัวปลา โดยมีระบบการย่อยอาหารที่ดี สามารถย่อยกุ้งได้ภายในระยะเวลาไม่ถึง 30 นาที่ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ปลาหมอสีคางดํา มีความต้องการอาหารอยู่แทบ ตลอดเวลา ประกอบกับนิสัยของปลาที่ค่อนข้างดุร้าย เมื่อเทียบกับปลานิลและปลาหมอเทศ

       การป้องกันการแพร่กระจายของปลาหมอสีคางดําเข้ามาในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ํา

      1.การเตรียมบ่อ ตากบ่อให้แห้งสนิท

      2.กรองน้ําด้วยถุงกรองและฆ่าเชื้อ เพื่อทําลายไข่ของปลา และลูกปลา

      3.ใช้กากชาเพื่อฆ่าปลาในบ่อ ก่อนการเลี้ยงสัตว์น้ํา

 

 

      การลดผลกระทบของปลาหมอสีคางดําในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ําแบบธรรมชาติแบบกึ่งพัฒนา

      1.กรองน้ํา ที่นําเข้าบ่อด้วยถุงกรอง หรืออวนตาถี่

      2.กําจัดปลาที่หลุดรอดเข้ามาด้วยกากชา

      3.หลีกเลี่ยงการเลี้ยงกุ้งทะเล ในช่วงที่ยังไม่สามารถควบคุมหรือป้องกันปลาหมอสีคางดําไม่ให้หลุดรอด เข้ามาในบ่อได้

      4.เลี้ยงปลากะพงขาวทดแทน การเลี้ยงกุ้งทะเล 1- 2 ปีหรือจนกว่าไม่มีการแพร่กระจายของปลาหมอ สีคางดําในพื้นที่หรือในบ่อ โดยปล่อยปลากะพงขาวขนาด 2-4 นิ้ว กรณีปลากะพงขาวมีขนาดเล็กให้ อนุบาลให้มีขนาด 3-4 นิ้ว ในกะชัง ก่อนปล่อยปลาสู่ในบ่อ ควรอนุบาลลูกปลากะพงขาวด้วยปลาหมอ สีคางดําสดสับ) เพื่อให้ปลากะพงขาวคุ้นเคยกับการกินเนื้อปลาหมอสีคางดํา เพื่อให้ปลากะพงขาวกิน ลูกปลาหมอสีคางดําวัยอ่อน โดยปลากะพงขาวสามารถกินปลาหมอสีคางดําที่มีขนาดเล็กกว่าปาก กะพงได้ช่วยลดต้นทุนค่าอาหารปลากะพงขาว

      5.เลี้ยงปูทะเลในบ่อ โดยใช้ปลาหมอสีคางดําเป็นอาหารของปูจับปลาที่มีขนาดใหญ่โดยใช้แหหรืออวน แล่หรือตัดปลาเป็นชิ้นขนาด 1-2 นิ้ว ใส่ยอ ถาดหรือวางอาหารในพื้นที่เลี้ยงปูโดยใช้ปลา 1-2 ชิ้นต่อ ปูทะเล 1 ตัว ปลาส่วนที่เหลือ สามารถเก็บไว้ได้โดยแช่แข็ง หรือหมักโดยใช้เกลือ 10 เปอร์เซ็นต์ต่อ น้ําหนักปลาที่ต้องการหมัก

 

 

       แนวทางการลดจํานวนปลาหมอสีคางดําในแหล่งน้ําธรรมชาติ

       1.จากการที่ปลาหมอสีคางดํา หลุดลงสู่แหล่งน้ําธรรมชาติมานาน จากการสังเกตพบปลาบางตัวมี ลักษณะคล้ายลูกผสมระหว่างปลาหมอเทศและปลาหมอสีคางดํา ดังนั้นการปรับปรุงพันธุ์ปลาจึงมี ความเป็นไปได้เพื่อลดความดุร้าย และลดการเป็นผู้ล่า และเพิ่มคุณค่าทางอาหาร รวมถึงคุณภาพของ เนื้อปลา เพื่อให้ตลาดมีความต้องการและมีราคาสูงขึ้น

       2.การปล่อยปลากินเนื้อ เช่น ปลากะพงขาว ลงในแหล่งน้ําธรรมชาติควรทําด้วยความระมัดระวัง เพราะปลากะพงขาว คงเลือกกินสัตว์น้ําหรือปลาชนิดอื่นๆ ที่จับกินได้ง่าย จากในแหล่งน้ําธรรมชาติ ก่อนที่จะเลือกจับกินปลาหมอสีคางดําดังนั้นการปล่อยปลากะพงขาวลงไป ต้องมีการตรวจสอบให้ มั่นใจก่อนว่าแหล่งน้ํานั้นถูกปลาหมอสีคางดําบุกรุก จนแทบไม่มีสัตว์น้ําชนิดอื่นอยู่เลย จึงเหมาะสมที่ จะปล่อยปลากะพงขาวลงไป

       ที่มา : กรมประมง http://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20170729064850_file.pdf