ขยายเพิ่มประก้นภัย "ข้าวโพด"

 

 

 

ชัยภูมิ - ธ.ก.ส.ร่วมกับ คปภ.ลงพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ให้ความรู้ประกันภัยพืชผล พร้อมขยายประกันภัยข้าวโพด หลังประกันภัยนาข้าวได้รับความสนใจจากเกษตรกร 

          นายสุพัฒน์ เอี่ยวฉาย ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า หลังรัฐบาลเปิดให้ชาวนาเข้าร่วมโครงการประกันภัยพืชผลปลูกข้าวนาปีฤดูกาลผลิตปี 2560/2561 จึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)ออกพื้นที่ทำความเข้าใจและเปิดให้เกษตรกรลงทะเบียนใน อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรกรมาลงทะเบียนจำนวนมาก ดังนั้น จึงเตรียมขยายไปยังพืชเศรษฐกิจประเภทอื่น เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ทั้งไม้ยืนต้น ผลไม้ ปศุสัตว์ ประมง เบื้องต้นอาจเริ่มนำร่องทำประกันในการปลูกข้าวโพด เนื่องจากเกษตรกรหลายพื้นที่ปลูกจำนวนมากประมาณ 6-7 จังหวัด อาทิ เพชรบูรณ์ ลพบุรี นครราชสีมา เลย สระบุรี 

 

 

          ทั้งนี้ ธ.ก.ส. บริษัทประกันวินาศภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องศึกษาการกำหนดเบี้ยประกันและการชดเชยแบ่งเป็นตามช่วงการเพาะปลูกข้าวโพด ซึ่งแตกต่างจากการประกันภัยข้าว แบ่งเป็นช่วงแรกการหยอดเมล็ดข้าวโพดให้งอก หากเกิดปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม แจ้งชดเชยสินไหมจากบริษัทประกันได้ ช่วง ระยะตั้งตัวการติดฝัก หากออกดอกหัวไม่ติดฝัก เนื่องจากปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอจากปัญหาฝนทิ้งช่วง จะคิดคำนวณการชดเชยสินไหมอีกระดับหนึ่ง ช่วง ระยะติดฝัก หากประสบปัญหาภัยธรรมชาติหลักตามกำหนดทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง ต้องชดเชยอีกรูปแบบหนึ่ง คาดว่าสรุปแนวทางภายใน 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อเสนอรัฐบาลพิจารณาการประกันภัยข้าวโพด รองรับการปลูกข้าวโพดรอบ กลางเดือนสิงหาคมนี้ 

 

 

          นายสมบูรณ์ ดาศรี ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนโยบายรัฐ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ปีนี้รัฐบาลกำหนดพื้นที่เป้าหมายดึงชาวนาประกันภัยพืชผล 30 ล้านไร่ สำหรับเกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปีของธนาคารคิดเบี้ยประกันภัย  90 บาทต่อไร่ เกษตรกรไม่ต้องออกค่าเบี้ยประกัน เพราะรัฐบาลและ ธ.ก.ส.อุดหนุน โดยรัฐบาลอุดหนุนเบี้ยประกันภัย  54 บาทต่อไร่ และ ธ.ก.ส.จะอุดหนุนเบี้ยประกันภัยในส่วนที่เหลืออีก 36 บาทต่อไร่ สำหรับเกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 จึงอยากให้เกษตรรีบไปขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวภายใน 60 วัน ตั้งแต่เริ่มปลูกข้าวปีนี้ 

 

 

 

          นอกจากนี้ กำหนดวงเงินคุ้มครอง 1,260 บาทต่อไร่ สำหรับภัยธรรมชาติทั้งหมด ประเภท ได้แก่ น้ำท่วมหรือฝนตกหนักภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ และไฟไหม้ เพิ่มจากปีก่อน 2559 วงเงินคุ้มครอง 1,111 บาทต่อไร่ และวงเงินความคุ้มครอง 630 บาทต่อไร่ สำหรับภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด (ปีการผลิต 2559 วงเงินคุ้มครอง 555 บาทต่อไร่) คาดว่าเกษตรกรที่ไม่ใช่ลูกค้า ธ.ก.ส. 800,000 ครัวเรือน พื้นที่ ล้านไร่ จะเข้าร่วมโครงการมากขึ้น และหากเกิดความเสียหายยังมีคณะกรรมการระดับพื้นที่เข้าไปตรวจสอบ เพื่อเคลมประกันและจ่ายชดเชยภายใน 15 วัน นับแต่ประเมินความเสียหาย