จัดพันล้าน!ปรับเกษตรกรเลี้ยงวัวเนื้อ

 

 

 

กรมปศุสัตว์ แจงโคเนื้อที่แจกเกษตรกร จ.สระแก้ว ตามโครงการ 'โคบาลบูรพา' เป็นโคเพศเมียในประเทศทั้งหมด เพื่อสร้างฐานการผลิตส่งออกในประเทศอาเซียน 

นายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงโครงการ 'โคบาลบูรพา' ของ จ.สระแก้ว ที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 6 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมาว่าโครงการนี้จะเพิ่มปริมาณโคเนื้อและแพะ สร้างอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับ 3 อำเภอใน จ.สระแก้ว คือ อ.โคกสูง,อ.วัฒนานคร และ อ.อรัญประเทศ

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะฯ ลงพื้นที่เยี่ยมเกษตรกร ต.หนองม่วง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว ที่ปรับเปลี่ยนปลูกข้าวมาเป็นเลี้ยงโคเนื้อ

เนื่องจากที่ผ่านมาพื้นที่จ.สระแก้ว มักประสบปัญภัยแล้งและไม่มีแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่จึงได้หันมาทำการปศุสัตว์แทน เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคและลดการนำเข้าอย่างครบวงจร โดยจะเป็นวัวเพศเมียภายในประเทศทั้งหมดที่จะแจกจ่ายให้กับเกษตรกรพร้อมยืนยันไม่ใช่วัวนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านแน่นอน ซึ่งวัวที่จะนำมาแจกจ่ายจะมีราคากลางที่ตัวละ 30,000 บาท 

 

 

 

โครงการนี้มีระยะเวลา 6 ปีตั้ งแต่พ.ศ.2560-2565  รวมงบประมาณ 970.5 ล้านบาท ใน 4 กิจกรรมเช่น 1.กิจกรรมอุดหนุนแม่โคเนื้อให้เกษตรกร 6,000 รายรายละ 5 ตัวรวมแม่โคเนื้อ 30,000 ตัว โดยมีเงื่อนไขต้องส่งลูกโคเพศเมียอายุ 12 เดือน จำนวน 5 ตัวแรก คืนให้กับโครงการ 2.กิจกรรมส่งเสริมอาชีพเลี้ยงแพะเนื้อให้เกษตรกร 100 รายรายละ 32 ตัว แบ่งเป็นเพศเมีย 30 ตัว เพศผู้ 2 ตัว โดยมีเงื่อนไข ต้องส่งลูกแพะเพศเมียอายุ 6 เดือน จำนวน 5 ตัวแรกให้กับโครงการ 3.กิจกรรมปลูกพืชอาหารสัตว์ไม่น้อยกว่า 30,300 ไร่ และ 4.กิจกรรมส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ จัดตั้งสหกรณ์'โคบาลบูรพา'

 

นายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์

ทั้งนี้การเพิ่มแม่โคเนื้อพันธุ์ดีกว่า 120,000 ตัวในพื้นที่ จ.สระแก้ว จะเป็นโครงการนำร่องอุตสาหกรรมการผลิตโคเนื้อของภาคตะวันออกและเพื่อการส่งออกไปยังประเทศเวียดนาม,กัมพูชา,ลาว และประเทศในกลุ่มอาเซียนต่อไป