ค้นพบพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก 8 ชนิด

          ทีมนักวิจัยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ออกสำรวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้ตามโครงการพรรณพฤกษชาติประเทศไทย (Flora of Thailand) ร่วมกับนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมศึกษาวิจัยตามโครงการพรรณพฤกษชาติประเทศไทย ได้ค้นพบพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก ได้แก่
         1. วงศ์ถั่ว (Fabaceae) จำนวน 2 ชนิด คือ
         - พรรณรายภูวัว หางไหลภูวัว Mattapha & Suddee ไม้เถา พบบริเวณใกล้น้ำตกถ้ำพระ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ นายสมราน สุดดี นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ร่วมกับ ดร.สไว มัฐผา นักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์ถั่วจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ตั้งชื่อเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก ตัวอย่างต้นแบบ Mattapha, Suddee & BKF staff 1127 เก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (BKF)ลักษณะใบประกอบแบบขนนก เรียงเวียน มีใบย่อย 5-7 ใบ ช่อดอกออกตามซอกใบหรือตามกิ่งแก่ ดอกสีชมพูอมม่วงแดง กลีบดอกบนด้านหลังมีแถบตามยาวสีแดงอมน้ำตาล ผลเป็นฝักแบน เมล็ดค่อนข้างกลม

         - หางไหลทุ่งใหญ่ พิไลสมราน Mattapha & Tetsana ไม้เถา พบบริเวณลำธารหินปูน หน่วยพิทักษ์ป่ากะแง่สอด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก นางสาวนัยนา เทศนา นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ร่วมกับ ดร.สไว มัฐผา นักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์ถั่วจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ตั้งชื่อเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก ตัวอย่างต้นแบบ Suddee, Tetsana & BKF staff 5206 เก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (BKF) ลักษณะใบประกอบแบบขนนก เรียงเวียน มีใบย่อย 5-9 ใบ ผิวใบด้านบนเป็นร่องตามเส้นแขนงใบชัดเจน ช่อดอกออกตามซอกใบ ดอกสีชมพูอมม่วง



         2. วงศ์กะเพรา (Lamiaceae) จำนวน 5 ชนิด ได้แก่
         - กะเพราถ้ำพระ Suddee, A. J. Paton & J. Parn. ไม้ล้มลุก พบบริเวณใกล้น้ำตกถ้ำพระ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ ได้ร่วมกับ Dr. Alan Paton นักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจากสวนพฤกษศาสตร์คิว กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และ Prof. John Parnell นักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจากทรินีตี้ คอลเลจ มหาวิทยาลัยแห่งกรุงดับลิน ตั้งชื่อเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก ตัวอย่างต้นแบบ Suddee, Hemrat & Kiewbang 5326 เก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (BKF)ลักษณะใบเรียงตรงข้าม ช่อดอกออกออกตามซอกใบ ลักษณะเป็นช่อกลมแน่นเรียงห่าง ๆ กัน กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกบน 3 แฉก แต่ละแฉกปลายแหลม แฉกล่าง 1 แฉก ปลายมนกลม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีขาว ผิวมีขน

         - ม่วงบุศบรรณ Suddee, A. J. Paton & J. Parn. ไม้ล้มลุก พบบริเวณทางเข้าน้ำตกถ้ำพระ ทางเข้าวัดถ้ำโขง และบริเวณก้อนน้ำอ้อย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ ได้ร่วมกับ Dr Alan Paton นักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจากสวนพฤกษศาสตร์คิว กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และ Prof. John Parnell นักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจากทรินีตี้ คอลเลจ มหาวิทยาลัยแห่งกรุงดับลิน ตั้งชื่อเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก ตัวอย่างต้นแบบ Suddee, Hemrat & Kiewbang 5325 เก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (BKF) คำระบุชนิด "busbanianum" ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตข้าราชการหอพรรณไม้ ผู้สร้างลูกศิษย์เพื่อปฏิบัติงานทางด้านอนุกรมวิธานพืชในประเทศไทยมากมาย ใบเรียงตรงข้าม ช่อดอกออกออกตามซอกใบ ลักษณะเป็นช่อหลวม ๆ เรียงห่าง ๆ กัน กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกบน 1 แฉก ปลายแหลม แฉกล่าง 1 แฉก ปลายมนกลม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีม่วง ขอบกลีบปากมีขนยาวสีม่วง

         - เห็มรัตน์ภูลังกา Suddee, Puudjaa & Kiewbang ไม้ล้มลุก พบบริเวณอุทยานแห่งชาติภูลังกา ในเขตอำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ได้ร่วมกับนายพาโชค พูดจา และนายวิทวัส เขียวบาง เจ้าหน้าที่หอพรรณไม้ ตั้งชื่อเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก ตัวอย่างต้นแบบ Suddee, Puudjaa, Hemrat & Kiewbang 5387 เก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (BKF) คำระบุชนิด "hemratianum" ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่นายจันดี เห็มรัตน์ เจ้าหน้าที่หอพรรณไม้ที่ร่วมสำรวจพรรณพืชและเป็นผู้จัดการตัวอย่างตามโครงการพรรณพฤกษชาติประเทศไทยมาอย่างมุ่งมั่นและยาวนาน ใบเรียงตรงข้าม ช่อดอกออกตามซอกใบเรียงชิดติดกันที่ปลายลำต้น ลักษณะเป็นช่อคล้ายทรงกระบอก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกบน 3 แฉก แต่ละแฉกปลายแหลมถึงมนกลม แฉกล่าง 1 แฉก ปลายมนกลม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีขาว ผิวมีขน

         - ข้าวตอกภูแลนคา Suddee, A. J. Paton & J. Parn., ไม้ล้มลุกบริเวณริมหน้าผา อุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ ได้ร่วมกับ Dr Alan Paton นักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจากสวนพฤกษศาสตร์คิว กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และ Prof. John Parnell นักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจากทรินีตี้ คอลเลจ มหาวิทยาลัยแห่งกรุงดับลิน ตั้งชื่อเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก ตัวอย่างต้นแบบ Suddee, Hemrat & Kiewbang 5230 เก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (BKF)ลักษณะใบเรียงตรงข้าม ช่อดอกออกออกตามซอกใบ เรียงห่าง ๆ กัน ดอกในช่อจำนวนน้อย กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดกว้าง ปลายแยกเป็นแฉกบน 3 แฉก แฉกกลางขนาดใหญ่สุด บิดโค้งขึ้น ปลายแหลมถึงมนกลม แฉกข้าง 2 แฉกมีขนาดเล็ก ปลายแหลม แฉกล่าง 1 แฉก ปลายมนกลม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีขาวอมม่วง โคนหลอดด้านบนมีติ่ง ผิวหลอดมีขน

         - ม่วงศรีโพธิ์ไทร Suddee, A. J. Paton & Kiewbang ไม้ล้มลุก พบบริเวณริมทางเข้าวนอุทยานภูล้อม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ได้ร่วมกับ Dr Alan Paton นักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจากสวนพฤกษศาสตร์คิว กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และนายวิทวัส เขียวบาง เจ้าหน้าที่หอพรรณไม้ ตั้งชื่อเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก ตัวอย่างต้นแบบ Suddee, Mattapha, Hemrat & Kiewbang 4993 เก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (BKF) คำระบุชนิด "parnellianum" ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์จอห์น พาร์แนล แห่งทรินิตี้ คอลเลจ มหาวิทยาลัยแห่งกรุงดับลิน หนึ่งในคณะบรรณาธิการโครงการพรรณพฤกษชาติประเทศไทย ผู้ให้ความช่วยเหลือโครงการพรรณพฤกาชาติประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ใบเรียงตรงข้าม ช่อดอกออกออกตามซอกใบ ลักษณะเป็นช่อหลวม ๆ เรียงชิดกันแต่มีช่องว่าง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกบน 3 แฉก เมื่อเป็นผลเห็นเป็นแฉกเดียว ปลายมนกลม โดยแฉกข้างลดรูปลงไปมาก แฉกล่าง 1 แฉก ปลายมนกลม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีม่วง เกสรเพศผู้ชี้ตรงเห็นเด่นชัด



         3. วงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) จำนวน 1 ชนิด ได้แก่
         - เอื้องโกเมนพุทธวงศ์ Tetsana, Watthana & H. A. Pedersen เป็นกล้วยไม้ดินขึ้นบนเขาหินปูน ใบ 2 ใบ แผ่ติดดิน ขนาดไม่เท่ากัน ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้น ดอก 5-15 ดอก ดอกสีม่วงแดง กลีบปากขนาดใหญ่ มีสันตรงกลางตามยาว คำระบุชนิด "buddhawongii" ตั้งให้เป็นเกียรติแก่นายวินศ์ พุทธวงค์ ผู้ค้นพบ ตัวอย่างต้นแบบ Buddhawong 021 เก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (BKF)


ที่มา : กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช