เผยผลงานจัดสรรที่ดิน ส.ป.ก. ปี 58-62 สำเร็จแล้ว 36 ล้านไร่

         นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยผลการดำเนินงานการจัดสรร ที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร ว่า จากปัญหาการรุกพื้นที่ป่าไม้และปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ และปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านทรัพยากรที่ดิน เกษตรกรไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง มีการครอบครองที่ดิน ที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย รัฐบาลจึงมีนโยบายในการบริหารจัดการที่ดิน และทรัพยากรดินของประเทศ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยการดำเนินของ กระทรวงเกษตรฯ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) มีการรับมอบพื้นที่เพื่อดำเนินการการส่งเสริม และพัฒนาอาชีพตั้งแต่ปี 2558 – 2562 โดยได้ดำเนินการส่งเสริมอาชีพแล้ว 126 พื้นที่ ใน 58 จังหวัด และได้มีการจัดทำ โครงสร้างพื้นฐานด้านแหล่งน้ำแล้ว 20 พื้นที่ ใน 7 จังหวัด เป็นพื้นที่ทั้งหมด 14,126 ไร่ เพื่อให้เกษตรกร 1,484 ราย สามารถทำอาชีพได้อย่างมั่นคง
         กระทรวงเกษตรฯ สามารถยึดคืนที่ดิน ส.ป.ก. ที่ครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 36/2559 แล้ว 443,889 ไร่ ดำเนินการจัดที่ดินแล้วรวม 301,802 ไร่ (ตามข้อ 9(1) จัดให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล คทช. 33,443 ไร่ และข้อ 9(2) จัดให้ผู้ถือครองเดิมหรือกระจายสิทธิ ตามกฎหมาย ส.ป.ก. 268,359 ไร่) ส.ป.ก. ใช้หลักการบูรณาการในการพัฒนาพื้นที่โดยจัดทำ MOU ระหว่าง 9 หน่วยงาน ได้แก่ ส.ป.ก. กรมชลประทาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ทำให้ เกษตรกร/ผู้ยากไร้และไม่มีที่ดินทำกินได้รับสิทธิการทำประโยชน์ในที่ดินทำกิน ได้รับการพัฒนาอาชีพและ โครงสร้างพื้นฐาน

         "ส.ป.ก. ได้เข้าปรับพื้นที่ 10,945 ไร่ ก่อสร้างถนนสาย หลัก/สายซอยกว่า 120 กิโลเมตร และร่วมกับกรมชลประทานในการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ คทช. แล้ว 13 แห่ง สร้างบ่อบาดาลแล้ว 31 บ่อ ร่วมกับ พอช. สร้างบ้านพักให้กับเกษตรกรแล้ว 859 หลัง สร้างอาคารที่ทำการสหกรณ์ โดย กรมส่งเสริมสหกรณ์แล้ว 6 แห่ง ทั้งนี้ ได้นำนโยบายตลาดนำการผลิตมาใช้เป็นหลักในการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวสามารถสร้างรายได้ให้กับ เกษตรกรโดยเฉลี่ยปีละ 93,130 บาท/ครัว เรือน ซึ่งสูงกว่ารายได้ทางการเกษตรสุทธิของทั้งประเทศ นับว่าเป็น การสร้างความมั่นคง และคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้" นายกฤษฎา กล่าว


         รมว.เกษตรฯ เผยด้วยว่า การจัดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีผลการจัดที่ดินทำกินรวม 36.08 ล้านไร่ แบ่งเป็นที่เกษตรกรรม 35.21 ล้านไร่ ที่ชุมชน 0.38 ล้านไร่ และที่เอกชน 0.49 ล้านไร่ โดยจัดให้เกษตรกรแล้ว 2.87 ล้านราย ณาผลงานแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งเป็นหนี้สิน ตั้งแต่การจัดตั้งกองทุนฯ ตามกฎหมายตั้งแต่ปี 2543 มานั้น จึงถือได้ว่าเป็นรัฐบาลแรกที่ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาหนี้สิน เกษตรกรสมาชิกกองทุนฯ ได้อย่างเป็นระบบโดยไม่เสียวินัยการเงินการคลังของประเทศ นอกจากนั้่น ยังปรับแก้ไข สาระสำคัญของร่างกฎหมายกองทุนฟื้นฟู ฯ คือ กำหนดให้การชำระหนี้แทนเกษตรกรทั้งทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน และบุคคลค้ำประกัน ได้กำหนดวิธีการในการชำระหนี้แทนเกษตรกรกรณีบุคคลค้ำประกันให้ชัดเจน โดยให้กองทุน ชำระหนี้แทนได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อให้สามารถขยายขอบเขตการชำระหนี้ให้ครอบคลุม เกษตรกรที่มีปัญหามากยิ่งขึ้นอีกด้วย