"52 ปี ธ.ก.ส." สานพลังภาครัฐ-เอกชน ปฏิรูปภาคเกษตร

         เมื่อวันที่ 28 มกราคม ที่ผ่านมา ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน 52 ปี ธ.ก.ส.สานพลังปฏิรูปภาคเกษตรไทย วัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือภาครัฐและเอกชนในการขยายโอกาสตลาดสินค้าเกษตร รวมทั้งเพื่อปฎิรูปภาคเกษตรไทยอย่างยั่งยืน
         ทั้งนี้ นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรฯ ได้ปาฐกถาพิเศษเรื่อง การขับเคลื่อนการปฎิรูปภาคการเกษตรโดยยึดหลัก "การตลาดนำการผลิต" ในภาคการเกษตร แนวคิดด้านการบริหารจัดการสินค้าเกษตรแบบใหม่ ให้ปริมาณการผลิตและความต้องการสินค้าเกษตรเกิดความสมดุลกันให้เกษตรกรเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนและผู้ค้า ตัวอย่างการปฏิรูปการเกษตร เช่น
         1.การลดพื้นที่การทำนาโดยการสนับสนุนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาผลผลิตจากโครงการดังกล่าวจะมีตลาดรับซื้ออย่างแน่นอนและขายผลผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรมเนื่องจากความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ ยังมีมาก ปัจจุบันข้าวโพดยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ข้าวโพดในการเลี้ยงสัตว์และคาดหวังว่าการปฎิรูปภาคการเกษตรในครั้งนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรไทยได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
         2.การประกันราคาพืชผลทางการเกษตร เพื่อลดการบิดเบือนราคาตลาดและลดความเสี่ยงเรื่องราคาของสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ

         3.ใช้ระบบโควตาในการจัดสรรพื้นที่ในการผลิตพืชทางการเกษตร และการเลี้ยงสัตว์และกังวลว่าพืชผลทางเพื่อจะช่วยเรื่องสินค้าทางการเกษตรล้นตลาดทั้งนี้ยังเป็นห่วงผลผลิตทางการเกษตรในอนาคตที่จะกระทบเรื่องราคาตกต่ำได้แก่ ทุเรียน เป็นต้น เนื่องจากปัจจุบันมีการปลูกกันมากขึ้นหวั่นอนาคตจะประสบปัญหาเรื่องราคา ทั้งนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรับได้ดำเนินการหาทางแก้ไขแล้ว
         4.อยากให้ธกส.ปรับบทบาทการดำเนินงานไม่ใช่แค่ปล่อยกู้ให้ทำหน้าที่การตลาดโดยทำงานควบคู่กับกระทรวงพาณิชย์เพื่อการพัฒนาสินค้าเกษตร ได้ยั่งยืนต่อไป
ทั้งนี้นโยบาย "การตลาดนำการผลิต"สามารถช่วยวางแผนการผลิตให้กับเกษตรกร สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต อีกทั้งเกษตรกรจะมีการตลาดรองรับสินค้าที่แน่นอน ผลผลิตใหม่ล้นตลาด เกษตรกรมีรายได้และมีความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรมากยิ่งขึ้น

         ด้านนายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า รอบปีที่ผ่านมาเกษตรกรได้เข้าร่วมโครงการลดภาระหนี้ เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปภาคเกษตรตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 เกษตรกร 3.81 ล้านราย ได้ลดดอกเบี้ยร้อยละ 3 และขยายเวลาชำระต้นเงิน 3 ปี ทำให้เกษตรกรผ่อนคลายปัญหาหนี้สินและมีกำลังใจที่จะปรับเปลี่ยนการผลิตพืชตามความต้องการของตลาด จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่กำหนดการจัดงาน "52 ปี ธ.ก.ส. สานพลัง ปฏิรูปภาคเกษตรไทย" เพื่อเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนการปฏิรูปภาคเกษตรไทย ในปี 2562 โดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา ในการพัฒนาภาคการเกษตรใน 3 ด้าน คือ ปรับ การเกษตรแบบดั้งเดิมมาใช้เทคโนโลยีและวัตกรรมการเกษตรเพื่อลดต้นทุน เช่น การผสมปุ๋ยใช้เอง การเกษตรแบบแปลงใหญ่ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้เทคโนโลยี Agri-Tech อาทิ การปลูกมันสำปะหลังระบบน้ำหยด การใช้เครื่องจักรในการทำไร่อ้อย ใช้โดรนเพื่อการเกษตร เป็นต้น