สนช. ผ่านกม.ปลดล็อก "กัญชา-กระท่อม" เพื่อวิจัย-รักษาโรค

         เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2561 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่...) พ.ศ..... เพื่อคลายล็อคกัญชาให้ใช้ทางการแพทย์ ซึ่งเป็นฉบับที่นายสมชาย แสวงการ เป็นประธานกรรมาธิการฯ พิจารณาฯ ด้วยเสียงเอกฉันท์ 166 เสียง และงดออกเสียง 13 เสียง
         ทั้งนี้ สนช. เห็นชอบเพิ่มจำนวน คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ที่เดิมกำหนดไว้ 17 คน ให้เพิ่มเติมอีก 8 คน คือ 1.ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2.อธิบดีกรมการแทพย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 3.อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม 4.อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 5.อธิบดีกรมสุขภาพจิต 6.นายกแพทยสภา 7.นายกสภาการแพทย์แผนไทย และ8.นายกสภาเภสัชกรรม
         กำหนดให้มีอำนาจการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ที่สำคัญคือ เพื่อประโยชน์ทางราชการ การแพทย์ การรักษาผู้ป่วย หรือการศึกษาวิจัยพัฒนา รวมถึงเกษตกรรม พาณิชยกรรม วิทยาศาสตร์ หรืออุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ซึ่งได้รับอนุญาตคือจากผู้อนุญาต คือเลขาธิการคณะกรรมการออาหารและยา (อย.) โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ และประกาศกำหนดลักษณะกัญชง (hemp) ที่มีลักษณะตามกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ที่นำไปใช้ประโยชน์ทางกฎกระทรวง ให้กระทำได้เมื่อได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของกรรมการ ระหว่างที่ยังไม่มีการประกำหนดตามกฎหมายฉบับนี้ ให้ใช้นิยามตามข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่ายหรือไม่ไว้ในครอบครองฯ พ.ศ. 2559
         ในประเด็นการปลดล็อคยาเสพติดประเภทกัญชาและกระท่อม ตามร่างกฎหมายนั้น ระบุว่า กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ทางราชการ การรักษาผู้ป่วย หรือการศึกษาวิจัยและพัฒนา รวมถึงเกษตรกรรม พาณิชยกรรม วิทยาศาสตร์ หรืออุตสาหกรรม , ให้พกพาเพื่อใช้รักษาโรคในปริมาณที่จำเป็น โดยต้องมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม, ทันตกรรม, แพทย์แผนไทย, การแพทย์แผนไทยประยุกษ์ หรือ หมอพื้นบ้าน โดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนดและผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ

         กรณีการผลิต นำเข้า ส่งออก ครอบครอง หรือจำหน่ายกัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้นั้น ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎกระทรวงกำหนด และความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ หากมีปริมาณการครองครองเกิน 10 กิโลกรัม ให้สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อจำหน่ายโดยหน่วยงานที่จะได้รับอนุญาตให้ผลิต นำเข้า ส่งออก ครอบครอง หรือจำหน่ายกัญชาได้นั้น ประกอบด้วย
         1. หน่วยงานรัฐ ที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนวิชาด้านการแพทย์ เภสัชกรรม วิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ หรือหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ป้องกันปราบปรามแก้ปัญหายาเสพติด หรือสภากาชาดไทย 2.ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ หมอพื้นบ้านตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด 3.สถาบันอุดมศึกษาที่ศึกษาและวิจัยด้านการแพทย์ 4..ผู้ประกอบอาชีพเกษตรที่รวมตัวเป็นวิสาหกิจชุมชน จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยวิสาหกิจชุมชน 5.ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ 6.ผู้ป่วยที่เดินทางระหว่างประเทศที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาเสพติดติดตัว เพื่อใช้รักษาโรคเฉพาะตัว 7.ผู้ขออนุญาตอื่น ที่รมว.สาธารณสุขเห็นชอบ
         และยังกำหนดให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ให้ความเห็นชอบการกำหนดโซนนิ่งในการปลูกกัญชา หรือผลิตทดสอบ เสพหรือครอบครองในปริมาณที่กำหนด รวมถึงมีอำนาจกำหนดให้ท้องที่ใดเป็นพื้นที่เสพกระท่อมได้ โดยไม่เป็นความผิด โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่กำหนดในกฎกระทรวง
         สำหรับบทลงโทษ สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายต้องถูกจำคุก และ ถูกลงโทษปรับด้วย อาทิ การครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่ถึง 10 กิโลกรับ จำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท, ครอบครองเกิน 10 กิโลกรัม จำคุก 1-15 ปี ปรับ 1 แสน-1ล้านบาท เป็นต้น ทั้งนี้ในร่างกฎหมายกำหนดให้เมื่อร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว 3 ปี ให้คณะกรมการควบคุมยาเสพติด ทบทวนการให้ใบอนุญาตทุก ๆ 6 เดือน