การปรับตัวของชาวนาไทย ...บนเส้นทางที่ยั่งยืน
  • 25 กุมภาพันธ์ 2018 at 08:15
  • 2404
  • 0

 

 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมการข้าว ได้เป็นประธาน กล่าวเปิดการสัมมนาวิชาการสาธารณะ “การปรับตัวของชาวนาไทย เป็นไปได้บนเส้นทางที่ยั่งยืน” ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเร็วๆนี้ โดยได้กล่าวถึงประเด็นสภาพปัญหาที่สำคัญของชาวนาและเกษตรกร นั่นก็คือที่ดินทำกินและปัญหาหนี้สิน ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับเกษตรกรอันสะท้อนถึงความมั่นคงทางอาชีพและวัฒนธรรมการเกษตร ในอดีตที่ผ่านมาวิถีชีวิตของเกษตรกรและชาวนาไทย มีลักษณะต่างคนต่างทำต่างคนต่างอยู่ทำการเกษตรแปลงเล็กๆ ไม่มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่ำงกัน ทำให้ภาครัฐไม่สามารถวางแผนการผลิตและการตลาดได้อย่างครอบคลุมเกษตรกรจึงมีหนี้สิน รายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ พื้นที่ทำกินส่วนใหญ่อยู่กับนายทุนเกษตรกรไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ต้องเช่ำที่ดินเพื่อทำกิน ขาดการรวมกลุ่ม ขาดอำนาจการต่อรอง

 

 

           นายอนันต์ กล่าวอีกว่า การทำการเกษตรหรือนาแปลงใหญ่ เพื่อช่วยลดต้นทุนกำรผลิตของเกษตรกรหรือชาวนารายย่อยนำสู่การรวมกลุ่มที่สามารถใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกลมาช่วยในการผลิต ให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น มีความสามารถจัดการการผลิตสินค้าอย่างมืออาชีพทำให้คุณภาพสินค้าเกษตรได้มาตราฐานเท่าเทียมกัน สามารถเข้าถึงการตลาดมีอำนาจต่อรองทางการตลาดสูงขึ้นเมื่อพัฒนาด้านการผลิตแล้ว การตอบสนองและเชื่อมโยงกับตลาดก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ต้องพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้ชาวนาไทยมีจุดขายที่แตกต่างและโดดเด่นในแต่ละประเภทของข้าว เป็นลักษณะเด่นของเอกลักษณ์ข้าวแต่ละชนิด เพื่อให้ก้าวไปสู่การที่ประเทศไทยจะเป็นแหล่งผลิตและการค้าข้าวรวมทั้งผลิตภัณฑ์ข้าวที่มีความมั่นคง มั่งคั่งยั่งยืน ผลผลิตข้าวมีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 20 ปีที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรเข้มแข็ง พึ่งพพาตนเองได้ สถาบันเกษตรกร มีคุณภาพประสิทธิภาพ สินค้าเกษตรได้คุณภาพมาตรฐานปลอดภัย ภาคเกษตรเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยนวัตกรรมบริหารจัดการพื้นที่เกษตรอย่างเหมาะสม