วันละชิ้น!หัวใจดี-สายตาเยี่ยม

 

ป็นผักสวนครัวอีกชนิดที่มีประโยชน์มากจริงๆสำหรับ “ฟักทอง” แต่เพราะอยู่ใกล้ตัวเกินไป อาจทำให้หลายคนมองข้าม หรือมองเพียงด้านเดียวว่ามันเป็นแค่ผักที่ใช้ปรุงอาหารคาวหวานเท่านั้น

          เปล่าเลย! สรรพคุณของมันมากมายกว่านั้นเยอะ ง่ายๆ คือเป็นยาทั้งต้น ไม่ว่าจะเป็นเครือหรือเถา ยอดอ่อน ผล เมล็ด ดอก ราก

          มาทำความรู้จักกับมันหน่อย ว่าใน 1 ผลของมันนั้น มีประโยชน์ด้านไหนบ้าง และควรบริโภคอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด

          1.มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยชะลอวัยความแก่ชรา

          2.ช่วยฟื้นบำรุงสุขภาพผิว ให้เปล่งปลั่งสดใส และช่วยปกป้องผิวไม่ให้เหี่ยวย่น

          3.มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยบำรุงและรักษาสายตา

          4.กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

          5.ควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมสภาพ

 

          6.มีคอลลาเจนตามธรรมชาติช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส

          7.มีกรดโปรไพโอนิคซึ่งมีส่วนทำให้เซลล์มะเร็งอ่อนแอลง

          8.ให้พลังงานต่ำ ไขมันน้อย จึงเหมาะแก่คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก

          9.ป้องกันการเกิดนิ่ว เพราะในฟักทองมีสารคิวเคอร์บิติน มีฤทธิ์ช่วยช่วยขับปัสสาวะ สามารถป้องกันการเกิดโรคนิ่วได้ และ

         10.มีฤทธิ์อุ่นซึ่งจะช่วยย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี

          นั่นคือประโยชน์โดยรวม ทว่า หากแยกแต่และส่วนจะพบสรรพคุณทางยาดังนี้ ครับ

 

 

        เนื้อผล เนื้อสีเหลืองมีสารต้านอนุมูลอิสระเรียกว่า “เบต้าแคโรทีน” มีสรรพคุณ
           - ป้องกันโรคผิวหนัง ป้องกันมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน บรรเทาอาการปวดเมื่อยของข้อเข่า บั้นเอว     
          - บรรเทาอาการหอบหืด ที่เกิดจากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังในผู้สูงอายุ
          - เนื้อฟักทอง ให้พลังงานต่ำ ไขมันน้อย คาร์โบไฮเดรตจะช่วยบำบัดแผลในกระเพาะและลำไส้ คนที่เป็นโรคกระเพาะกินฟักทองนึ่งจะช่วยบรรเทาการปวดท้องได้
          เมล็ด - ลดการเกิดโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ,น้ำมันที่สกัดจากเมล็ด ดื่มกินบำรุงประสาท และบดเป็นผงใช้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวตืด
        ยอดอ่อน - มีวิตามินเอสูงพอๆกับเนื้อ แต่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่า ช่วยบำรุงไต ตับ สายตา ป้องกันโรคเบาหวาน
        ดอก - มีวิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส สร้างภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี

 

วิธีทำรับประทาน :
        - ฟักทอง ครึ่ง กก.นึ่ง แล้วราดด้วยน้ำผึ้งกินวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ติดต่อกัน 5-7 วัน ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด
        - ต้มเนื้อผล 250 กรัมกับน้ำสะอาด ดื่มกินเป็นน้ำแกง ช่วยรักษาเบาหวาน
        - ดอก ต้มกับตับหมู 120 กรัม กินรักษาโรคตาบอดกลางคืน
        - เนื้อในเมล็ด 120 กรัม คั่วแล้วบดเป็นผง ผสมน้ำอุ่น ดื่มครั้งละ 30 กรัม ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมในสตรีหลังคลอด
        - กินเนื้อในเมล็ดฟักทองดิบ 100 กรัม ติดต่อกัน 3 วันช่วยถ่ายพยาธิใส้เดือน
        - คั่วเมล็ด 150 กรัมให้สุก กินเนื้อในขับพยาธิตัวตืด


ประโยชน์ทางอาหาร :
        - อดอ่อน ใบอ่อน ดอกตูม นำไปลวกจิ้มน้ำพริก ผัดน้ำมันหอย ใส่ในแกงหน่อไม้ แกงเลียง แกงเผ็ด ผัดใส่ไข่
        - ผลแก่ นำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด รวมทั้งนำไปทำขนมหวาน เช่น ฟักทองแกงบวช สังขยาฟักทอง ฟักทองเชื่อม
        - มล็ด นำเอามาอบกะเทาะกินเนื้อข้างใน

ข้อแนะนำเพิ่มเติม :
        - ควรเลือกฟักทองพันธุ์ทีมีรสหวาน และมีเนื้อละเอียด จะมีสรรพคุณทางยามาก
        - ผู้ที่มีอาการแน่นท้อง และจุกเสียดท้องไม่ควรกิน
        - เมล็ดฟักทองคั่ว 1 ถ้วยตวงจะมีไขมัน 13 % ไม่เหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอาจจะเพลินกินจนเสียการควบคุม
        - เจียวกระเทียมกับเต้าเจี้ยวแล้วผัดกับฟักทอง ลดแน่นท้องได้

          เป็นไม้เถาเลื้อย วงศ์  Cucurbitaceae ชื่ออื่น มะฟักแก้ว หมักอื้อ หมากฟักเหลือง

         ลำต้น เป็นเถาเลื้อยตามพื้นดิน มีมือเกาะ มีขนปกคลุมลำต้น
        ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตามลำต้น มีลักษณะเป็น 5 หยัก มีขนปกคลุมทั้งใบ
         ดอก ออกตามง่ามใบและยอด เป็นดอกเดี่ยวมี 5 แฉก สีเหลืองนวลหรือเหลืองทอง
         ผล ใหญ่ มีเปลือกแข็งสีเขียวแก่ หรือสีน้ำตาลแดงแล้วแต่สายพันธุ์

         ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด เติบโตเร็ว ชอบความชื้นและแสงแดดปานกลาง

 

แหล่งที่มาข้อมูล : กรมแพทย์ทางเลือก และหนังสือ อาณาจักรพืชผัก สมุนไพรสร้างสมอง,วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี,