ผักบ้านๆสรรพคุณเพียบ!

 

 

 

วันก่อนพูดถึง "มะระ" ว่ามี 2 ชนิด คือมะระจีน และมะระขี้นกซึ่งมะระจีนพูดไปแล้ว วันนี้จึงเป็นคิวของ“มะระขี้นก”ผักพื้นบ้านที่คนรุ่นพ่อแม่เรานิยมปลูกไว้ตามริมรั้ว เพื่อนำผลอ่อน ยอดอ่อน มาลวกจิิ้มกับน้ำพริกกิินแนมกับปลาทูทอดเพิ่มรสชาติความอร่อยของอาหารมื้อนั้นๆได้ดีทีเดียว ทว่า อะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับสรรพคุณทางยาของผักชนิดนี้ที่มีอยู่อย่างมากมายมหาศาล

        เป็นไม้เถาเลื้อย ในวงศ์ CUCURBITACEAE ที่มีลำต้นเลื้อย พาดพันตามต้นไม้ หรือตามหลักไม้ รั้วไม้ ลักษณะลำต้น เป็นเส้นเล็ก ยาว มีขนขึ้นประปราย ชื่ออื่นๆ ผักไซ (ภาคอิสาน) ผักสะไล และมะไห่ ผักไห่ (ภาคเหนือ)

        บ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณหยักเว้าลึก 5–7 หยัก ปลายแหลม สีเขียวอ่อน มีรสชาติขม

 

 

         ดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว บริเวณง่ามใบ ลักษณะของดอกมีสีเหลือง กลีบ ดอกบาง ช้ำง่าย

         ผล เป็นรูปกระสวยสั้น พื้น ผิวเปลือกขรุขระ มีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อน มีสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมแดง

         ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ชอบความชื้นและแสงแดดเต็มวัน

สรรพคุณทางยา :  

          1.น้ำต้มของรากใช้ดื่มแก้ลดไข้ บำรุงธาตุ ฝาดสมาน แก้ริดสีดวงทวาร แก้บาดแผลอักเสบ

          2.ใบต้มน้ำดื่มช่วยเจริญอาหาร ช่วยระบาย น้ำคั้นของใบดื่มช่วยทำให้อาเจียน บรรเทาอาการท่อน้ำดีอักเสบ

 

 

          3.ดอกชงกินกับน้ำ แก้อาการหืดหอบ

          4.ผล กินเป็นยาขม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ขับพยาธิ แก้ตับและม้ามอักเสบ หรือจะคั้นน้ำดื่มสัปดาห์ละไม่เกิน 1 แก้ว ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และเป็นยาระบาย

           5.เมล็ด ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม

           ะระขี้นก จะมีรสขมกว่ามะระจีน เป็นที่นิยมของผู้สูงอายุ ด้วยการนำผลอ่อนไปต้มหรือเผากินทั้งผล แต่ถ้าเป็นผลแก่ต้องนำมาคว้านเมล็ดออกก่อน     

 

 

          วิธีลดความขม ทำได้ด้วยการต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือประมาณหยิบมือ แล้วลวกในน้ำเดือดสักครู่ จะทำให้ลดความขมลงได้และยังคงมีผลสีเขียวสดอีกด้วย

ข้อควรระวัง : 

           มะระผลสุก จะมีสารซาโปนิน (Saponin) ในปริมาณมาก เมื่อกินเข้าไปอาจทำให้เกิดอาเจียน ท้องร่วงได้ ฉะนั้น อย่ากินผลสุกของมัน

ผู้ที่ห้ามกินมะระขี้นก :

         ได้แก่ ผู้ที่ม้ามเย็นพร่อง กระเพาะเย็นพร่อง หากกินเข้าไปอาจทำให้มีอาการอาเจียน ถ่ายท้อง ปวดท้องได้ และควรกินในปริมาณที่พอดี เช่น การดื่มน้ำมะระก็อย่าขมจัด เพราะจะทำให้ตับทำงานหนัก และสำหรับหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้ตกเลือดหรือแท้งได้

 

 

ที่มาข้อมูล วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, www.rspg.or.th สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ, www.gotoknow.org, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)