หนุนปลูก "ชะอม" รายได้ดีวันละเป็นพันบาท (มีคลิป)

         หลังจากที่ จังหวัดลพบุรี ถูกน้ำท่วมใหญ่ บรรดาพืชสวน พืชไร่เสียหายหนัก เกษตรกรกว่าจะฟื้นตัวได้น้ำตาแทบเป็นสายเลือด ในเขตอำเภอเมืองลพบุรี มีเกษตรกร ปลูกชะอม ตัดยอดขายจำนวนมากแทบทุกตำบลในเขตอำเภอเมือง มีการปลูกชะอมเป็นหมื่นไร่ เกษตรกรตัดยอดชะอมขายส่ง ในปัจจุบันเกษตรกรที่ปลูกชะอมตำบลตะลุง อำเภอเมือง ลพบุรี บ่นขายส่งจากสวนกำ(แพ)ละ 4 บาท แต่ถ้าเข้าฤดูหนาวจะขายส่งได้ราคา กำ(แพ)ละ 8 บาท ในแต่ละกำ จะมีชะอมประมาณ 2 ขีด พ่อค้าคนกลางที่ซื้อจากเกษตรกรตามบ้าน ตามสวนจะไปขายส่งตลาดในราคากำละ 7-8 บาท แม่ค้าขายปลีกกำละ 15-20 บาทซื้อกิ่งชะอมมาปลูกแพงมาก เกษตรกรจะต้องลุกขึ้นมา

         ว่าที่ ร.ต.บุญธรรม โฉมยา นายก อบต.ตำบลตะลุงเล่าว่า ตำบลตะลุงมีทั้งหมด 13 หมู่ แทบทุกบ้าน หมู่บ้านจะมีการปลูกชะอมกันแทบทุกหลังคาเรือน บางรายก็ปลูก 4-5 ไร่บางรายมีที่ดินน้อยปลูกแค่ 1-2 ไร่ บางรายปลูก ริมรั้วก็มี เกษตรที่ปลูกชะอมทาง อบต.ก็ให้การส่งเสริมมาตลอด เกษตรที่ปลูกชะอมมีรายได้ดี ที่ปลูกเป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้ให้เกษตรกร มีรายได้วันละเป็นพันบาทต่ำสุด 300-400 บาท ชะอมการปลูกชะอมเกษตรกรมีรายได้ทุกวันเกษตรตัดยอดชะอมขายได้ทุกวันวันนี้จัดแปลง วันรุ่งขึ้นคัดอีกแปลง ยิ่งปลูกหลายไร่เก็บยอดชะอมขายได้ทั้งปี

         "ในเขตตำบลตะลุงเป็นพื้นที่ทางการเกษตร เกษตรกร จะแบ่งพื้นที่เพาะปลูกพืชยืนต้นเช่นผลไม้ พืชล้มลุกเช่นชะอมพืชผักสวนครัวก็มีการเพาะปลูกกันมาก เกษตรกรในตำบลตะลุง มีรายได้เลี้ยงตัวจากพืชสวน พืชไร่แทบทุกครัวเรือน ส่วนชะอมจะเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัด เพราะในเขตอำเภอเมืองมีการปลูกชะอมกันมากในเขตตำบลตะลุง ตำบลโพธิ์เก้าต้น ตำบลงิ้วราย ตำบลโก่งธนู ตำบลดอนโพธิ์ เป็นต้น ทาง อบต.ตะลุงได้ให้เจ้าหน้าที่ติดตาม สำรวจในแต่ละปีมีการขยายพื้นที่การเพาะปลูกชะอมออกไปอีกมากน้อยเกษตรกร เป็นอย่างไรมีปัญหา ทาง อบต ก็จะเข้าไปดูแลช่วยเหลือ" นายสุธรรมเล่าให้ฟัง

         นายสมศักดิ์ พันธุ์อยู่ อายุ 62 ปี อยู่บ้านเลขที่ 58 หมู่ที่ 1 ตำบลตะลุงอำเภอเมืองลพบุรี เล่าให้ฟังว่าหลังจากน้ำมาได้ปีกว่า ก็ต้องไปหาซื้อกิ่งพันธุ์จะอมมาปลูกในราคากิ่งละ 4-5 บาท ชะอม 1 ไร่ต้องลงทุนค่ากิ่งพันธุ์ไร่ละ 4-5 พันบาท ไหนจะต้องใส่ปุ๋ย ที่บ้านปลูกไว้ประมาณ ไร่ครึ่ง ที่เพิ่งปลูกได้เดือนกว่าๆ ก็มี และจะสามารถตัดยอดขายได้ หลังจากปลูกประมาณ 2 เดือนแต่ถ้ายอกที่ปลูกออกมทายอกแรกๆต้องตัดทิ้งก่อนให้ยอกใหม่ขึ้นมาถึงจะตัดขายได้ และจะตัดยอดได้ตลอด ถ้าตัดแล้วบ่อยๆ ก็จะยอดออกำมาก โดยเฉพาะด้านข้างๆต้น ในช่วงนี้ฝนตกลงมาแทบทุกวันยอดชะอม แตกยอดดีมากทำให้พอมีกำไร เพราะกำละไม่กี่ยอด

         "แล้วก็จะใส่ปุ๋ยทุก 15 วัน และใส่ฮอร์โมนด้วยจะรดน้ำทุกๆ 7 วันด้วยสปริงเกอร์ สูบน้ำจากคลองชลประทานขึ้นมาลดชะอมให้ชุ่ม และเก็บยอดชะอมได้ทุกๆ 2-3 วันจะตัดครั้งหนึ่งต้องเว้นเพราะ ต้นชะอมตอนนี้ยังโตไม่เต็มที่ เท่าที่ปลูกไว้ตอนนี้ก็จะเก็บได้ประมาณ 100 แพ ต่อเก็บครั้งหนึ่ง แต่ถ้าต้นโตเต็มที่ก็อาจจะได้ถึง 200-300 แพยิ่งโต ยอดชะอมก็ใหญ่ กำละไม่กี่ยอด การเก็บชะอม จะต้องเก็บแต่เช้ามืด บางบ้านจะตื่นขึ้นมาประมาณ ตีสาม ตีสี่ ออกไปเก็บชะอมกันแล้ว ยิ่งมืด ยังไม่ทันสว่างยอดชะอมยิ่งงามขายได้ราคาดี โดนเฉพาะฤดูหนาว ยอดชะอมจะไม่ค่อยมี ในช่วงนี้จะขายดีได้ราคามากพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงบ้าน เพียงแค่กำเป็นแพวางไว้หน้าบ้าน พ่อค้าคนกลางจะนำรถกระบะ มารับชะอมตั้งแต่เช้ามืด เพื่อส่งไปขายตามตลาดกลางพืชไร่"

         นางสมพร น้อยเผ่า อายุ 71 ปี บ้านเลขที่ หมู่ 13 ตำบลตะลุง อำเภอเมืองลพบุรีเกษตรกร ผู้ปลูกชะอมเล่าให้ฟังว่าเมื่อสองปีก่อนเกิดน้ำท่วมใหญ่ต้นชะอมที่ปลูกไว้ตายทั้งหมด เลยต้องซื้อกิ่งพันธุ์ปลูกลงใหม่ ในพื้นที่ 1 ไร่ โดยจะสามารถเก็บได้ 2-3-วันต่อครั้ง หากวันไหนฝนตกดีๆ ก็จะได้ยอดชะอมเยอะ โดยจะส่งขายให้พ่อค้าคนกลางมารับถึงบ้าน กำละ 4 บาท พื้นที่เพาะปลูกชะอม 1 ไร่ สามารถตัดยอดชะอมได้วันละประมาณ 50-60 กำ(แพ ) พอกำเสร็จแล้วก็จะเอาไปชุบน้ำปูนใสเพื่อให้ยอดแข็งไม่มีการใส่สารเคมี โดยมีแม่ค้า พ่อค้า จะมารับที่บ้าน ก่อนหน้านี้จะขายดีมาก เพราะชะอมไม่ค่อยออกยอดจะได้ราคาดี เพราะอากาศร้อน

         "ตอนที่ลงกิ่งพันธุ์ชะอมลงปลูกใหม่ๆหลังจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2553 ก็ใช้เวลาประมาณ เดือนกว่าๆถึงสองเดือนถึงจะสามารถตัดยอดเก็บขายได้ ปัจจุบันชะอมมีผู้บริโภคกันมากในลพบุรีมีการปลูกกันมาก หลายตำบล แต่เกษตรกรขายได้ในราคากำละ 4 บาท แม่ค้าขายตามแพงขายในราคากำละ 15-20 บาท แม่ค้าขายตามตลาดได้กำไรดีกว่า เพราะเกษตรกร ส่งได้เพียงกำละ 4 บาทเท่านั้น" นางสมพรกล่าวในที่สุด

 

เรื่อง/ภาพ : น.ส.นภาภัทร ทับทิมพราย