“ตำลึง”ผักริมรั้วป้อง”เบาหวาน-งูสวัด”

 

 

 


 

"ตำลึงผักที่ขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา มักชอบขึ้นตามแนวริมรั้ว ริมทางเดิน มีชื่อเรียกต่างกันว่า ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท และผักตำนิน มี 2 ชนิด คือตำลึงตัวเมียและตำลึงตัวผู้ ที่เรากินยอดกินใบกันอยู่นี้เป็นตำลึงตัวเมีย นับเป็นพืชสมุนไพรใกล้ตัวเราชนิดที่หลายคนมองข้ามสรรพคุณทางยาของมันที่มีมากมาย 

เป็นไม้เถาเลื้อยมีมือเกาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cocconia grandis (L.) Voigt ลำต้นหรือเถาสีเขียว ทอดยอดไปเกาะตามหลัก ต้นไม้ ฯลฯ    

ใบ เป็นใบเดี่ยว สลับกันไปมาตามเถา โคนของใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ,ดอก สีขาว เป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ

ผล เหมือนแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า สีเขียวมีลายสีขาว พอสุกจะกลายเป็นสีแดง ข้างในมีเมล็ด

ขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด ขึ้นได้ทุกสภาพดิน

 

 

สรรพคุณทางยา : 

-          เบาหวาน ใช้เถาแก่ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้

-          ลดท้องอืด ท้องเฟ้อ : ควรรับประทานสดๆ เพราะเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน

-          ลดคัน อักเสบจากแมลงกัดต่อย และพืชมีพิษ : นำใบตำลึงสด 2-20 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหาย (ใช้ได้ดีกับมดคันไฟ หรือใบตำแย)

-          แผลอักเสบ : ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น

 

 

-          งูสวัดเริม : ใช้ใบสด 2 กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน พอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ

-          ตาช้ำตาแดง : ตัดเถาเป็นท่อนยาว 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา

-          ใบหน้าเต่งตึง : นำยอดตำลึง 1/2 ถ้วย น้ำผึ้งแท้ 1/2 ถ้วย ผสม ปั่นให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออก ทำทุกวันได้จะดี 

ข้อควรระวัง - ตำลึงมีทั้งตำลึงตัวผู้ และตำลึงตัวเมียดังกล่าวข้างต้น เป็นตัวเมียกินได้ไม่มีปัญหา หากเป็นตัวผู้ คนที่มีธาตุอ่อนอาจทำให้ท้องเสียได้ ฉะนั้น ต้องสังเกตให้ดี (ตัวผู้หรือตัวเมียให้ดูได้จากลักษณะของใบ ดังในภาพด้านล่าง)       

 

ตำลีงตัวผู้ (บน) - ตำลึงตัวเมีย (ล่าง)

แหล่งที่มาวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช),นิตยสารหมอชาวบ้าน (รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ)จากสารศิลปยาไทย (ฉบับที่ 68)