เผยซากอวนในทะเลทำลายชีวิตสัตว์ ใช้เวลากว่า 600 ปี ย่อยสลาย

         องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) ได้ตีพิมพ์รายงานล่าสุดที่ระบุว่าบริษัทอาหารทะเลยักษ์ใหญ่ของโลกจำนวน 15 บริษัทจะต้องมีความพยายามมากขึ้นในการยุติซากอวนที่ถูกทิ้งในทะเล ซึ่งคร่าชีวิตปลาจำนวนมหาศาลในแต่ละปี
         จากการประเมินพบว่าจำนวนปลาที่ลดลง 5 ถึง 30% มาจากสาเหตุของซากอวนที่ถูกทิ้ง หรือสูญหายในทะเล ซึ่งจะต้องใช้เวลาถึงกว่า 600 ปีในการย่อยสลาย โดยในรายงานมีการจัดลำดับบริษัทอาหารทะเลทั้ง 15 แห่ง ออกเป็น 5 ลำดับตามศักยภาพในการจัดการปัญหาซากอวนของแต่ละบริษัท โดยในระดับ 1 หมายถึงดีที่สุดและลำดับ 5 หมายถึงแย่ที่สุด ทั้งนี้ ในบรรดา 15 บริษัทอาหารทะเลยักษ์ใหญ่ ไม่มีบริษัทใดได้รับการจัดระดับให้อยู่ในระดับ 1 ซึ่งหมายถึงการเป็นผู้ที่ใช้วิธีการที่จะสามารสร้างการเปลี่ยนแปลง และไม่มีบริษัทใดที่ได้รับการจัดระดับให้อยู่ในระดับ 2 ซึ่งหมายถึงเป็นผู้ที่มีการจัดการที่มีความรับผิดชอบและมีวิธีจัดการอวนเป็นส่วนประกอบในแผนการดำเนินงานของบริษัท
         ระดับการจัดการซากอวน
         ระดับ 1 ผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง/เป็นผู้นำการใช้วิธีการที่ดีที่สุดที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง
         ระดับ 2 ผู้บรรลุเป้าหมาย/มีเรื่องการจัดการซากอวนในแผนดำเนินการของบริษัท
    ระดับ 3 ผู้มีการปรับปรุง/มีแผนในการจัดการซากอวนแต่ยังต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม ได้แก่ บริษัท Thai Union, TriMarine และ Young’s Seafood
         ระดับ 4 ผู้ให้ความร่วมมือ/มีกำหนดการในการดำเนินการเรื่องซากอวน แต่ยังไม่มีหลักฐานการดำเนินการมากพอ ได้แก่ บริษัท Bumble Bee Foods และ Dongwon (StarKist)
         ระดับ 5 ยังไม่ให้ความร่วมมือ/ไม่มีหลักฐานว่า ALDFG อยู่ในวาระการดำเนินการของบริษัท ได้แก่ บริษัท Beaver Street Fisheries, Clearwater Seafoods, Cooke Seafood, East Coast Seafood Group, High Liner Foods, Maruha Nichiro, Nissui, Pacific Seafood Group, Pescanova และ Samherji
         จากทั้ง 15 บริษัทนี้ มีเพียงสามบริษัทที่อยู่ในระดับ 3 หรือ "ผู้มีการปรับปรุง" เนื่องจากบริษัททั้งสามแห่งนี้มีนโยบายและแผนการจัดการซากอวนที่ชัดเจน
         บริษัท Young’s Seafood – บริษัทผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายอาหารทะเลสด แช่เย็น และแช่แข็งจากอังกฤษ เป็นผู้จัดจำหน่ายอาหารทะเลจำนวนประมาณ 40% ให้กับสหราชอาณาจักร
         บริษัท Thai Union - บริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลกและมีสินค้าหลายแบรนด์ เช่น John West และ Chicken of the Sea
         บริษัท TriMarine – ผู้จัดส่งปลาทูน่าและครอบคลุมไปถึงบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับปลาทูน่าแก่บริษัทปลาทูน่าอื่นๆ ทั่วโลก
         บริษัท Bubble Bee Seafoods - เป็นบริษัทอาหารทะเลบรรจุแบบเก็บไว้ได้นานที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกาเหนือ เป็นผู้จำหน่ายปลาทูน่า แซลมอน ซาร์ดีน และอาหารทะเลพิเศษทั้งแบบกระป๋องและบรรจุซอง ได้ถูกจัดให้อยู่ในระดับ 4 เช่นเดียวกับบริษัท Dongwon ซึ่งเป็นบริษัทอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดจากเกาหลีใต้และเป็นเจ้าของแบรนด์ทูน่า StarKist บริษัทในระดับ 4 นี้ถือว่ามีการจัดการที่แม้จะมีความรับผิดชอบในเรื่องการจัดการซากอวนในวาระการดำเนินงานแต่ก็ยังมีหลักฐานที่ค่อนข้างจำกัด
         บริษัทที่เหลืออีก 10 แห่ง รวมถึงบริษัท Canadian giant บริษัท High Liner Foods ที่มีผลิตภัณฑ์จำหน่ายทั่วสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก ภายใต้ชื่อ High Liner, Fisher Boy, Sea Cuisine และ C. Wirthy นั้นอยู่ในระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับที่ยังไม่ให้ความร่วมมือหรือไม่มีหลักฐานว่าบริษัทเหล่านี้มีมีการระบุถึงประเด็นความเสียหายที่เกิดจากซากอวน
         รายงานยังแสดงความกังวลว่า 73% ของบริษัทที่ได้รับการประเมินยังไม่มีจุดยืนที่ชัดเจนต่อปัญหาเรื่องซากอวนหรือได้แสดงการรับทราบในประเด็นปัญหาดังกล่าว
         คะแนนประเมินเฉลี่ยของทุกบริษัทอยู่ที่ 22%
         บริษัทจำนวนน้อยกว่าครึ่งมีการพูดถึงประเด็นเรื่องขยะในทะเล มลภาวะทางทะเล การจับสัตว์น้ำที่ไม่ได้เป็นเป้าหมายที่บังเอิญมาติดอวน
         มีสามบริษัท Young’s Seafood, TriMarine และ Thai Union เท่านั้น ที่มีนโยบายการจัดการซากอวน
         มีสองบริษัท Bubble Bee และ Clearwater Seafoods ที่เปิดเผยต่อสาธารณะว่าสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังการผลิตและสายการผลิตได้ 100%
         มีสองบริษัท TriMarine และ Young’s Seafood ที่เป็นผู้เข้าร่วมในโครงการ Global Ghost Gear Initiative

         การป้องกันปัญหาซากอวนมีความสำคัญอย่างมาก เพราะซากอวนไม่เพียงแต่จะทำให้ปริมาณการจับปลาลดลง แต่ยังทำลายล้างชีวิตอื่นๆในมหาสมุทรอีกด้วย ทุกๆ ปีสัตว์น้ำหลายแสนตัว ทั้ง วาฬ โลมา แมวน้ำ เต่าทะเล ต้องตกเป็นเหยื่อของซากอวนที่หลุดลอย โดยมีอัตราการทำให้สัตว์น้ำติดกับและคร่าชีวิตพวกมันมากกว่าขยะในทะเลประเภทอื่นๆรวมกันถึง 4 เท่า นอกจากนี้ ซากอวนยังทำให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกในกว่า 70% ของขยะพลาสติกมากจากอุปกรณ์จับปลา
         คุณสมศักดิ์ สุนทรนวภัทร หัวหน้าฝ่ายโครงการ องค์กรพิทักษ์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า อวนนั้นถูกออกแบบมาเพื่อจับและฆ่าสัตว์น้ำ และเมื่อมันถูกทิ้งไว้ในมหาสมุทร พวกมันก็ได้กลายเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุดต่อสัตว์น้ำ
         "เป็นเรื่องที่น่าหดหู่อย่างที่สุดที่รู้ว่าสัตว์ที่ต้องมาติดกับซากอวนเหล่านี้จะต้องเจ็บปวดต่อบาดแผล ทั้งยังต้องทรมานเป็นเดือนๆ หรืออดอาหารจนตาย เราหวังว่าบริษัทที่ได้รับคะแนนการประเมินต่ำจะทำงานหนักขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา และปรับตัวมาอยู่ในระดับการประเมินที่สูงขึ้นในอนาคต บริษัทเหล่านี้จะต้องระลึกไว้ว่าผู้บริโภคจะคำนึงถึงในเรื่องสวัสดิภาพของสัตว์เมื่อกำลังเลือกซื้ออาหาร การเข้าร่วมใน Global Gear Initiative (GGGI) ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่คุณสามารถเลือกกระทำได้"
         GGGI คือภาคีร่วมมือที่จัดตั้งโดยองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกเมื่อพ.ศ. 2558 โดยมีเป้าหมายในการแก้ปัญหาซากอวนในระดับโลก GGGI มีจุดแข็งอยู่ที่ความหลากหลายของผู้เข้าร่วม ซึ่งมีทั้งภาคอุตสาหากรรมอาหารทะเล ภาคเอกชน หน่วยงานวิชาการ รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้เข้าร่วมทุกฝ่ายมีบทบาทที่สำคัญในการบรรเทาปัญหาที่เกิดจากซากอวนทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับโลก
         รายงานฉบับนี้ยังนำเสนอให้เห็นว่าบริษัทที่เข้าร่วมใน GGGI นั้นมีศักยภาพมากขึ้นในการระบุปัญหาซากอวนที่เกิดขึ้นบนสายพานการผลิตและยังเป็นการสนับสนุน Sustainable Development Goals ขององค์การสหประชาชาติ และด้วยความเชี่ยวชาญของ GGGI บริษัทที่เข้ารวมจะสามารถช่วยลดปริมาณซากอวนที่จะถูกทิ้งในมหาสมุทรก่อนปีพ.ศ. 2568
         ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแคมเปญนี้สามารถดูได้ที่ www.ghostgear.org